โครงการปุ๋ยมูลไส้เดือน
ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากโรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน ที่คนในชุมชนมีการประกอบอาชีพฟาร์มโคนม เป็นจำนวนมาก
และนักเรียนในโรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษาหลายคนก็มีฟาร์มโคนมเป็นของตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งต่างๆที่มีอยู่รอบตัว
ในชุมชนของตนนั้น มาพัฒนาและต่อยอด โดยเลือกใช้มูลวัวนม จากฟาร์มของนักเรียนทางครูผู้สอนและผู้บริหารจึงได้จัดทำ
โครงการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น โดยหวังว่าผู้เรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อ ชุมชนและครอบครัว และจัดเป็น
ศูนย์เรียนรู้ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาต่อไป
ประโยชน์ของมูลไส้เดือน
1.แบคทีเรียในระบบย่อยอาหารของไส้เดือนจะผลิตตัวควบคุมการเติบโตของพืชและฮอร์โมนเพิ่มเติมที่รับผิดชอบสำหรับการเร่ง
เซลล์พืชให้ขยายและแบ่งตัว ซึ่งมีถึง 10,000 เท่าในมูลไส้เดือนมากกว่าในดินผสมทั่วไป
2.มูลไส้เดือนจะมีความสมบูรณ์ที่ลงตัวระหว่างสารชีวภาพและช่องว่างอากาศ ซึ่งเป็นความสมดุลที่เหมาะที่จะให้รากพืชเปราะบาง
ชอนไชลงไปได้อย่างง่ายดายเพื่อหาสารอาหารและน้ำ ยิ่งรากมีมากเท่าไหร่
พืชก็จะสามารถรวบรวมอาหารและน้ำได้มากขึ้นเท่านั้นและก็จะสุขภาพดีขึ้นด้ว
3.ต้นไม้ที่ปลูกในกระถางนานๆ ปุ๋ยมูลไส้เดือนจะไม่ทำให้ดินแข็ง จึงสามารถยืดระยะเวลาการปลูกออกไปได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนกระถาง
4.ปลอดสารเคมี 100% ไม่เป็นพิษต่อคน สัตว์เลี้ยง และสภาพแวดล้อม
5.กรณีใช้ผสมดิน ที่เป็นดินเหนียว จะช่วยเพิ่มอากาศในดิน ทำให้ดินร่วนซุย และช่วยในการถ่ายเทน้ำและอากาศได้สะดวก
6.กรณีผสมดินที่เป็นดินทรายจะช่วยเพิ่มเนื้อดิน ช่วยให้ดินเก็บรักษาความชื้น และธาตุอาหารในดิน ลดการชะล้างธาตุอาหารของน้ำ
7.มูลไส้เดือนดินสามารถช่วยเก็บความชื้นและปลดปล่อยออกมาให้พืชอย่างช้าๆ เมื่อพืชต้องการ ยืดระยะเวลาการให้น้ำแก่พืชได้นานขึ้น
8.ช่วยลดปัญหาการสลายตัวของธาตุอาหาร เป็นตัวปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ ทำให้ประหยัดปุ๋ย
9.ปกป้องดินไม่ให้มีสภาพโครงสร้างแน่นเข็ง และช่วยเติมอินทรียวัตถุในเนื้อดิน ช่วยให้ดินร่วนซุย รากพืชสามารถแพร่ขยายได้กว้าง
10.มูลไส้เดือนดินจะมีสารประกอบของกรดฮิวมิคซึ่งเป็นตัวกักเก็บธาตุ อาหารที่จำเป็นต่อพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)
แคลเซียม (Ca) เหล็ก (Fe)และทองแดง (Cu) ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในโมเลกุลของกรดฮิวมิค อยู่ในรูปพร้อมใช้ และจะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อพืชต้องการ
11.มูลไส้เดือนไม่มีของแถมที่ไม่พึงประสงค์ เช่นด้วง เชื้อราร้ายที่เข้าไปทำลายพืช ไม่ผลิตหญ้า ที่จะกลายมาเป็นมาเป็นวัชพืชทีหลัง
12.มูลไส้เดือนมีโมเลกุลที่เล็กกว่า ปุ๋ยคอกทั่วไป ต้นไม้จึงดูดซับได้ง่ายและเร็วกว่า
13.มูลไส้เดือนเป็นปุ๋ยเย็นกว่าใช้กับต้นไม้ได้เลย ไม่ทำอันตรายกับต้นไม้ ต่างกับปุ๋ยคอกอื่น ที่ต้องผ่านการหมักก่อนถึงจะนำมาใช้ได้
ที่มา:บทความจาก คุณเดชาวัจน์ พันจันทร์โชติ
https://teetatfarm.wordpress.com/knowledge/, https://goo.gl/AsAjJM, https://farmerspace.co/13
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0885328839 (ครูกิตติคุณ วาระกูล)
การเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อทำ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ในกะละมัง
1. กะลังมังสีดำ ความกว้างประมาณ 1ศอก (ใบละไม่เกิน 20 บาท)
2. ขี้วัวแห้ง เก็บเศษฟาง หรือวัสดุที่ปนมากับขี้วัวออกให้เหลือแค่ขี้วัวจริงๆ
3. ไส้เดือนดินพันธ์ุแอฟริกันที่ใช้เลี้ยงกันทั่วไป ประมาณ 3 ขีด
4. กากมะพร้าวสับ หรือใบไม้แห้ง (ใบมะขามเทศ,ใบก้ามปู)
– นำกะละมังไปเจาะรูโดยใช้สว่าน 2 หุน เจาะให้ทั่วกะละมัง เพื่อให้น้ำไหลผ่านออกได้สะดวก
– นำขี้วัวมาทำการรดน้ำ ให้ขี้วัวเปียก เพื่อล้างความร้อนของขี้วัวและแก๊สออกให้หมด รดน้ำขี้วัว ประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วแต่ความร้อนของขี้วัว
– นำกากมะพร้าวสับมาผสม ประมาณ 30% ของขี้วัว 70 % นำมาผสมให้เข้ากัน มะพร้าวสับควรแช่น้ำก่อนเพื่อล้างยางของมะพร้าวออกไป
ที่ผสมกากมะพร้าวผสม เพื่อช่วยในการเพิ่มความเย็นให้กับขี้วัว ผสมเข้ากันแล้วนำไปใส่ในกะละมัง ประมาณครึ่งกะละมัง
– ใส่ไส้เดือน 3 ขีด ลงบนขี้วัวผสมไว้ในกะละมัง แล้วนำไว้ในโรงเรือนที่เย็น โดยทำเป็นชั้นเหล็ก หรือชั้นท่อพีวีซีก็ได้ ไส้เดือนชอบความชื้นและเย็น
รดน้ำ ให้ความชื้นกับไส้เดือน 3-4 วันต่อครั้ง ประมาณ 1ครึ่งหรือ2 เดือนเราก็จะได้ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน เต็มกะละมัง สามารถนำไปใส่
พืช ผักผลไม้ หรือจำหน่ายได้แล้วครับ
หมายเหตุ : โรงเรือนที่เลี้ยงไส้เดือนดิน คือต้องเป้นพื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แดงส่องบ้างแต่ไม่ให้ร้อนจัด
– สามารถให้อาหารเสริมได้ คือเศษผักที่เหลือใช้การทำครัว ให้หรือไม่ให้ก็ได้ เพราะไส้เดือนพันธ์ุแอฟริกันกินขี้วัวเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว
– เราสามารถแยกพ่อพันธุ์แม่พันธ์ุไส้เดือนไว้ได้ โดยการคัดเอาไส้เดือนที่ตัวโตๆ ไว้
ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดุกสันหลัง ไม่ชอบความร้อน เพราะฉนั้น มูลของไส้เดือนจึงเย็น สามารถนำไปรองหลุมที่เตรียมปลูกพืชผักผลไม้ได้เลย
หรือใส่เป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้ที่กำลังเจริญเติบโตได้ดี
ที่มา https://www.nfc.or.th/content/6899
ข้อตกลงและนโยบายการใช้งาน
Copyright © 2020 wmk school. All Rights Reserved. Designed by kittikun warakul
Joomla! is Free Software released under the GNU General Public License.